ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย

"...หลักของเศรษฐศาสตร์ คือการสนองความต้องการ แต่ในพุทธศาสตร์จะมีการพิจารณาว่า ความต้องการนั้นให้เกิดคุณภาพชีวิต หรือทำลายคุณภาพชีวิต แล้วจึงจะสนองหรือระงับ ไม่เหมือนกัน"

"...ถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต เศรษฐศาสตร์จะจำกัดตัวเองอยู่ในขอบเขตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้แล้ว ส่วนพุทธศาสนานั้นมองเรื่องของการผลิต การบริโภค และการวิภาคแจกจ่าย โดยไม่จำกัดเฉพาะกิจกรรมที่มาซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราได้ หรืออยู่ในการตลาด แต่มองไปถึงกิจกรรมทุกอย่างในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านวัตถุที่จะส่งเสริมความเป็นอยู่ดี และเป็นฐานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือพัฒนาศักยภาพของตนต่อไป"

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๑
ข้อมูลพัฒนาการ
  • เดิมชื่อว่า "เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์"
  • พิมพ์ครั้งแรก (พฤศจิกายน ๒๕๓๑) ในชื่อเดิมว่า "เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมธีรราชมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๒ (มกราคม ๒๕๓๒) ในชื่อใหม่ว่า "ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย" จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธธรรม
พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน ๒๕๓๑
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๕
ISBN974-7892-14-6
เลขหมู่BQ4570.E25
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง