ไอที: ภายใต้วัฒธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์)

...มนุษย์เราในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมไทย มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีด้านข่าวสารข้อมูล หรือตัวข่าวสารข้อมูลนั้นแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท

  • ๑. พวกตื่นเต้น คิดว่าเรานี้ทันสมัยได้เสพข่าวสารที่ใหม่ๆ แปลกๆ มีของใหม่ๆ เข้ามาเราได้บริโภค แต่สัมผัสกับข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ อย่างผิวเผิน... เรียกว่าตกอยู่ในกระแส ถูกกระแสพัดพาไหลไปเรื่อยๆ ไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • ๒. พวกตามทัน ... พวกนี้ก็ภูมิใจว่าเรานี่เก่ง ข่าวเกิดที่ไหนๆ รู้หมด... แผ่นดินไหว เกิดอีโบล่า อะไรที่ไหนรู้ทันหมด ตามทันแต่ไม่รู้ทันพวกนี้เป็นเยอะ รู้ตามข่าว แต่ไม่เข้าถึงความจริงของมัน...
  • ๓. พวกรู้ทัน นอกจากจะตามทันแล้ว ยังรู้เข้าใจเท่าทันมันด้วยว่า มันเป็นมาอย่างไร มีคุณ มีโทษ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะมีท่าทีอย่างไร ให้ประโยชน์โดยไม่ถูกครอบงำ
  • ๔. พวกอยู่เหนือมัน ... คนที่อยู่เหนือกระแส จึงจะสามารถจัดการกับกระแสได้ เป็นผู้สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ และเป็นผู้นำการเปลียนแปลง มีความสัมพันธ์กับข่าวสารข้อมูลแบบเป็นนาย เป็นผู้จัดการ เป็นผู้ใช้มันอย่างแท้จริง...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ ผู้ร่วมงาน "ไอทีเฉลิมพระเกียรติ : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาชน" ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๘
ข้อมูลพัฒนาการ
  • พิมพ์ครั้งแรก (ม.ป.ป.) จัดพิมพ์โดย สำนักเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาิติ
  • พิมพ์ครั้งที่ ๕ ฉบับปรับปรุง (ธันวาคม ๒๕๓๙) จัดพิมพ์โดย กองทุนการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ISBN974-7575-69-8, 974-8239-32-2
เลขหมู่BQ4570.G6
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง