คนไทยกับสัตว์ป่า

...ถ้าเราพัฒนาคนไม่สำเร็จ  แม้ว่าคนนั้นจะเป็นสัตว์เมืองก็จริง  ตัวอยู่ในเมืองแต่หัวใจเป็นสัตว์ป่า  และจะเป็นสัตว์ป่าที่ร้ายกว่าสัตว์ป่าชนิดไหนๆทั้งหมด  ดังจะเห็นได้ง่ายๆว่า  กวางไม่หมดป่าเพราะเสือกัด  แต่กวางอาจจะหมดป่าเพราะคนล่า...

...พระพุทธเจ้าไม่หนีปัญหา  ข้อความที่พระองค์ตรัสตอนหนึ่งว่า  อะหัง นาโควะ สังคาเม  เรานี้เหมือนช้างเข้าสู่สงคราม  ต้องเจอหอก ดาบ และแม้แต่ลูกศร  ลูกธนูที่เขายิงมา  เราจะไปกลัวอะไร  เราต้องสู้เหมือนช้างใหญ่เข้าสู่สงครามแล้ว  ไม่มีความหวาดกลัว  เพราะฉะนั้นชาวพุทธนี้เป็นนักสู้ปัญหา  ต้องใช้ปัญญาแก้ปัญหา  เหตุเกิดที่ไหนต้องให้ระงับที่นั่น  อันนี้เป็นคติอย่างหนึ่ง...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณะกรรมการและสมาชิกแห่งสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งญาติมิตร ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาำสำโรงดงยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘
ข้อมูลพัฒนาการ

"คนไทยกับสัตว์ป่า" นี้ เกิดจากคำบรรยาย ในโอกาสที่คณะกรรมการและสมาชิกแห่งสัตวแพทยสมาคมฯ พร้อมทั้งญาติมิตร ได้เดินทางไปร่วมกันปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ที่บริเวณสถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรงดงยาง ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ อาตมภาพได้ตรวจชำระข้อความที่ถอดจากแถบบันทึกเสียง โดยปรับปรุงถ้อยคำสำนวนให้เรียบร้อยกลมกลืนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมเสริมเนื้อความให้มีสาระเพิ่มขึ้นตามสมควร

- พิมพ์ครั้งที่ ๑ สัตวแพทย์สมาคม แห่งประเทศไทย ตุลาคม ๒๕๔๐
                    กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตุลาคม ๒๕๔๐
- ดร.สุรีย์ ภูมิภมร จัดให้มีการคัดลอกธรรมกถาจากแถบบันทึกเสียง พ.ศ. ๒๕๓๘
- พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (อินศร จินฺตาปญฺโญ) จัดทำรูปเล่ม พ.ศ.๒๕๔๐
พิมพ์ครั้งแรกมกราคม ๒๕๔๑
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ISBN974-553-435-8
เลขหมู่BQ4570.N3
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง