รากฐานพุทธจริยศาสตร์สำหรับสังคมไทยร่วมสมัย

LanguageThai
Abstract

เมื่อว่าถึงพุทธจริยศาสตร์ นักปราชญ์และผู้ตีความเกี่ยวกับพุทธสาสนา มักมีความคิดจำกัดอยู่แต่ในกรอบบัญญัติทางธรรมหรือคำสอน ทั้งๆ ที่พระปาพจน์ในพุทธศาสนานั้น ย่อมมีทั้งธรรมและวินัยเป็นส่วนประกอบ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ธรรมหรือคำสอน และวินัยหรือระเบียบปฏิบัติรวมกันเข้า จึงนับเป็นพุทธจริยศาสตร์ทั้งหมด

ธรรมนั้นว่าด้วยอุดมคติและหลักการ ส่วนวินัยนั้นว่าด้วยสภาพเงื่อนไขทางวัตถุและทางสังคม ที่เอื้อต่อการปฏิบัติตาม และการบรรลุถึงอุดมคติและหลักการดังกล่าวนั้น

วินัยในที่นี้ มิได้หมายเพียงระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุและภิกษุณีเท่านั้น หากรวมถึงแก่นสารของข้อกำหนดกฎเกณฑ์และการจัดองค์กรทางวัตถุและทางสังคมดังกล่าวด้วย โดยนัยนี้ ย่อมไม่มีความคิดความอ่านใดๆ อันเกี่ยวกับพุทธจริยศาสตร์จะสมบูรณ์ได้ ถ้าไม่ได้พิจารณากันให้ครบ ทั้งในแง่ธรรมและในแง่วินัย

Translated from - Foundations of Buddhist Social Ethics
โดย วีระ สมบูรณ์ (สำนักพิมพ์เทียนวรรณ) ชื่อเดิม Foundations of Buddhist social ethics for contemporary Thailand
Development
  • พิมพ์ครั้งแรกในชื่อว่า "รากฐานพุทธจริยศาสตร์ทางสังคมเพื่อสังคมไทยร่วมสมัย" โดย สำนักพิมพ์เทียนวรรณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
  • ต่อมาได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อความบางตอน และมีการปรับชื่อหนังสือเป็น "รากฐานพุทธจริยศาสตร์สำหรับสังคมไทยร่วมสมัย" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
First publishing 2528
Latest publishing onPublishing no. 2 November 2533
ISBN978-974-7493-30-6
Dewey no.รอวิเคราะห์หมวดหมู่