ลุอิสรภาพด้วยอนิจจัง

LanguageThai
Abstract

...อิสรภาพของบุคคลก็ดี อิสรภาพของสังคมก็ดี ต้องอาศัยความรู้ในเรื่องอนิจจังด้วยกันทั้งนี้น ในแง่ของอิสรภาพส่วนบุคคล หรืออิสรภาพทางด้านจิตปัญญาของบุคคลนั้น การที่เรารู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควร และไม่อาจเข้าไปยึดติด มัวเมาหลงใหล จิตก็จะได้เป็นอิสระจากกิเลส พร้อมที่จะปฏิบัติการ หรือทำการต่างๆ ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ หรือด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ ... ในแง่ของสังคม เรารู้อนิจจังก็เพื่่อไม่ประมาท เข้าไปเป็นปัจจัยร่วมในการที่จะผลักดัน กีดกั้น จัดสรรปัจจัยต่างๆ เพื่อนำมนุษย์ไปสู่สังคมที่มีอิสรภาพ ปลอดพ้นจาการเบียดเบียน...

Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for เพื่อเป็นเกียรติแด่ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส at หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Change toความเป็นอนิจจังของสังขารกับอิสรภาพของสังคม
Development
  • "ลุอิสรภาพด้วยอนิจจัง" เรียบเรียงจากปาฐกถาประจำปี แสดงเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ ปรีดี พยมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ในโอกาสที่มีการอัญเชิญอัฐิธาตุกลับสู่ประเทศไทย ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พิมพ์ครั้งแรก รวมเล่มอยู่ในหนังสือ ปรีติธรรม และปรีดีนิวัติสัจจะคืนเมือง โดยให้ชื่อว่า "ความเป็นอนิจจังของสังขารกับอิสรภาพของสังคม" และคณะกรรมการบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๒๙ โดยคัดบางตอนมาพิมพ์ โดยใช้ชื่อที่ผู้บรรยายตั้งว่า "ลุอิสรภาพด้วยอนิจจัง" ต่อมาได้ตีพิมพ์เป็นภาคผนวกในหนังสือ "ไตรลักษณ์"
  • พิมพ์ครั้งแรก (กันยายน ๒๕๓๐) เป็นการพิมพ์แยกเล่มเฉพาะครั้งแรก จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
First publishingSeptember 2530
Latest publishing onPublishing no. 2
ISBNNo related data
Dewey no.BQ4570.S6