คนที่เก่งจริง ไม่เอาความยิ่งใหญ่มาแปลกแยกตัว แต่เอาพลังร่วมสร้างสรรค์บูรณาการเข้าในสังคม

ภายใต้การชี้นำของปัญญา ก็เกิดมีฉันทะขึ้นเป็นแรงขับเริ่มต้นปรากฏในใจเป็นพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา หรืออุเบกขา ตามที่จะเข้ากับสถานการณ์นั้นๆ แล้วแสดงออกทางกายวาจาเป็นพฤติกรรมแห่ง ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา แล้วแต่กรณี โดยที่ว่าเมื่อตัวทำงานทั้ง ๓ ของชีวิต คือ วายามะ(วิริยะ) สติ และสมาธิ มารับสนองงานต่อจากฉันทะที่เริ่มให้แล้ว ก็จะขับเคลื่อนขบวนการปฏิบัติอันเป็นสิกขาหรือการศึกษาคืบหน้าไปให้ถึงความสำเร็จ เป็นบูรณาการของธรรมทั้งหมดนั้นเข้าในมรรคาแห่งการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิต ที่เรียกว่ามรรค อันจะพาเดินหน้าไปในภาวนา คือการพัฒนาสู่จุดหมายแห่งอิสรภาพและสันติสุขต่อไป