การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย

ภาษาไทย
คำโปรย

...การศึกษาจะต้องสร้างจิตใจวิทยาศาสตร์ คือ ความใฝ่ปรารถนา ที่จะเข้าถึงสัจจธรรมและปัญญาขึ้นมาให้ได้ และจุดนี้ก็เป็นจุดที่ศาสนา และวิทยาศาสตร์มาบรรจบกับการศึกษา แล้วมันก็จะโยงต่อไปอีกถึงว่า การศึกษานั้น จะต้องสร้างคนให้มีพลังแห่งจริยธรรม ที่จะผลิตและใช้เทคโนโลยีในทางที่ถูกต้องดีงาม...

..การสอนคนให้มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษอย่างเดียวไม่พอ ถ้าทำอย่างนั้น คนก็จะกลายเป็นเครื่องจักรกลที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง แต่ไม่เป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการพัฒนาประสานกลมกลืน...คนที่มีความรู้ที่เชี่ยวชาญพิเศษจะคล้ายกับสุนัขที่ฝึกดีแล้ว มากกว่าจะเป็นบุคคลเต็มคน...
ปรับปรุงเพิ่มเติมจาก - การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา
- ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา
- รุ่งอรุณของการศึกษา
- สัจจธรรมกับจริยธรรม
- พุทธธรรมที่เป็นพื้นฐาน สำหรับหลักสูตรศึกษาศาสตร์
ข้อมูลพัฒนาการ
  • "การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย" เป็นหนังสือที่คณะกรรมการโครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำขึ้นเนื่่องในวาระครบรอบ ๒๐ ปี ของคณะศึกษาศาสตร์ ปรับปรุงใหม่จาก "ทางสายกลางของการศึกษาไทย" โดยเพิ่มเดิมเนื้อหา และจัดลำดับใหม่ให้เหมาะสม ภายในหนังสือแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น ๒ ตอน ตอนที่หนึ่ง ประกอบด้วยงานนิพนธ์ ๕ เรื่อง คือ ๑) การศึกษา : เครื่องมือที่ยังต้องพัฒนา ๒) พุทธธรรมที่เป็นพื้นฐาน สำหรับหลักสูตรศึกษาศาสตร์ ๓) รุ่งอรุณของการศึกษา ๔) ความคิด : แหล่งสำคัญของการศึกษา ๕) สัจจธรรมกับจริยธรรม ตอนที่สอง ได้รวบรวมประวัติ ผลงานบรรณนิทัศน์งานนิพนธ์ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พร้อมทั้งคำถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างๆ ของไทย ได้ประกาศเกียรติคุณผลงานในแขนงต่างๆ ของท่าน
พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน ๒๕๓๒
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
ISBN974-552-900-1
เลขหมู่BQ4570.E3