คนเช่นไร จะรักษาธรรมไว้ได้ในสังคม ? ตอนที่ ๓

ภาษาไทย
อยู่ในชุดธรรมนี้ มิไกล ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐
ข้อมูลเบื้องต้น00:54 ธรรมะชุดใจต้องออกสู่ปฏิบัติการ
01:48 ธรรมะชุดปฏิบัติการประสานกับใจอย่างไร ?
10:29 สมานคือเสมอ เสมอคืออะไร ? ทำอย่างไร ?
17:50 คุณธรรมสำคัญของผู้พิพากษาจะรักษาสังคมไว้ได้
30:40 ถ้าตัดสินผิดพลาด บาปหรือไม่บาป ?
38:53 สุดท้าย "ปัญญา" กับ "เจตนา" จำเป็นต้องมา

----------------------------------

[17:50] ท่านผู้พิพากษานี้เป็นแบบอย่างเลย เพราะเป็นตราชูของสังคม ในการที่จะรักษาสังคมไว้ได้ ท่านเป็นแบบอย่างในเชิงปฏิบัติการนั้นเห็นเลยว่า เราจะรักษาสังคมของเราให้อยู่ดีมีความสุขความเจริญ โดยเฉพาะความมั่นคงอยู่ได้นี่ ด้วยความเป็นธรรมที่ตั้งอยู่บนหลักที่ใจมีพรหมวิหาร 4 มีอุเบกขาที่โยงไปถึงธรรมะด้วยปัญญา แล้วก็ออกสู่ปฏิบัติการด้วยสมานัตตตาที่เช่นเดียวกันโยงไปสู่ธรรมะด้วยปัญญาที่รู้นั่นแหละ ตอนนี้จะต้องมีสติเตือนให้ตระหนักเสมอเลย ตัวปัญญาต้องทำงานเต็มที่ เจตนาต้องดีเสมอและสติก็จะมาเตือน

[29:27] ผู้พิพากษาไม่ได้ไปตัดสินใคร ถ้าท่านปฏิบัติถูกนะ ถ้าใจเป็นกลางจริงๆนี่ไม่มีตัวตนแล้ว ก็คืออยู่กับปัญญาที่รู้ความจริงที่เป็นธรรมะนั้น แล้วเจตนาก็รักษาความเป็นธรรมเอาตัวหลักการที่วางไว้นั้นยกมาบอกให้รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ แล้วก็ว่าไปตามนั้น ก็คือผู้พิพากษาไม่ได้มีตัวตนของตนเอง เพราะไม่มีเจตนาของตัวเองนี่ เจตนานั้นอยู่ที่ธรรมะ เจตนานั้นคือธรรม เพราะฉะนั้นก็ธรรมะตัดสินใจ ท่านเรียกว่าธรรมะตัดสิน

[39:32] มนุษย์ก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง โดยตัวเขาเองนะเป็นธรรมชาตินะ ใจก็เป็นธรรมชาติ กายของเขาก็เป็นธรรมชาติ แล้วทีนี้ธรรมชาติในมนุษย์น่ะมันมีตัวพิเศษอันหนึ่ง "ปัญญา" ปัญญานี้เป็นธรรมชาตินะไม่ใช่ของแปลกปลอมนะ ... ปัญญากับเจตนา
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา
ชื่อไฟล์dhamma-2550/dhamma-2550_08.mp3
เรื่องที่ควรฟังก่อนคนเช่นไร จะรักษาธรรมไว้ได้ในสังคม ? ตอนที่ ๒
เรื่องที่ต่อเนื่องเมื่อประชาธิปไตยที่ไม่ประสีประสา มาเจอปัญหาศาสนาประจำชาติ ตอนที่ ๑ มองไกล ใจกว้าง