พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

กุศลและอกุศลจากผัสสะ

พระพรหมคุณาภรณ์

ในพระพุทธศาสนาเถรวาท สําหรับประเด็นเรื่องผัสสะและความรู้สึก เมื่อคุณรับรู้โดยรู้สึกมีความสุข หรือไม่มีความสุข หรือทุกข์เจ็บปวด นี่อยู่ในขั้นที่ยังเป็น passive อย่างนี้เรียกว่า ยังเป็นกลาง แต่ถ้าคุณพัฒนาความรู้สึกชอบ หรือความรู้สึกชัง มันจะเป็นขั้น active คือมี action แล้ว และจะถูกแบ่งเป็นกุศลหรืออกุศล คือเป็น Skillful หรือ Unskillful

นายมิวเซนเบิร์ก

เป็นการแบ่งแยกที่ดี มีความสุขกับไม่มีความสุข ชอบกับชัง

พระพรหมคุณาภรณ์

ถ้าคุณไปถึงขั้นที่ "ชอบ" หรือ "ชัง" หมายความว่า กระบวนการเกิดทุกข์ได้เริ่มขึ้นแล้ว ถ้าคุณไม่มีความชอบหรือชัง คุณเพียงแค่รู้สึกมีความสุข หรือเจ็บปวด มันก็ใช้ได้ คือ คุณสามารถเดินทางไปสู่ปัญญา

นายมิวเซนเบิร์ก

หมายความว่า ความสุข กับ ความทุกข์ ไม่เหมือนกับ ความยินดีกับไม่ยินดี ซึ่งเหมือนกับ ชอบกับชัง

พระพรหมคุณาภรณ์

หมายความว่า เมื่อเราแตะถูกสิ่งหนึ่ง เรารู้สึกเย็นร้อน อ่อน แข็ง เมื่อมันร้อนเกินไป เรารู้สึกไม่สบาย เจ็บปวด เป็น ธรรมชาติ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเลว มันไม่เป็นกุศล หรืออกุศล และเมื่อคุณจับมันแล้วรู้สึกเย็น คุณรู้สึกว่าชื่นใจ สบาย มันก็เป็นกลาง แต่เมื่อคุณมีปฏิกิริยา คือ คุณชอบ หรือไม่ชอบ นั่นคือ Mental Action เกิดขึ้น การเกิดความรู้สึกสบาย แช่มชื่นใจ หรือเจ็บปวด เป็นกลาง เป็น Passive ไม่ใช่ Active แต่ชอบ หรือชัง เป็น Active ไม่ใช่ Passive เป็นขั้นของการกระทำ จากความชอบหรือชังนั้น กระบวนการคิดก็ดำเนินต่อไปภายใต้อิทธิพลของความชอบและความชัง

นายมิวเซนเบิร์ก

คำถามสุดท้ายคือ หลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนา มีการตีความแตกต่างกันไป บางท่านก็ตีความไปว่ามันมีผลในชาติเดียว บางท่านว่ามันสืบต่อภพชาติ ทั้งชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป ในหนังสือของท่าน ท่านแสดงหลักการทั้งสอง ของท่านพุทธทาสก็เช่นกัน แต่ดูเหมือนว่าท่านจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับสามชาติ อะไรทำนองนี้ ผมในฐานะปัจเจกบุคคล ไม่ได้ยึดติดกับการตีความอันใดอันหนึ่ง อย่างท่านพุทธทาสเชื่อว่า ตามคัมภีร์เดิมหมายถึงชาติเดียว ผมสนใจในประเด็นนี้มาก

The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.