ไตรภูมิพระร่วง: อิทธิพลต่อสังคมไทย

...ความจริงที่แน่นอนอย่างแรกก็คือ หลักกรรม และหลักไตรลักษณ์โดยเฉพาะเรื่องความไม่เที่ยง เป็นแกนความคิดที่ซึมแทรกอยู่ทั่วตลอดในคำสอนทั้งหมด ของหนังสือไตรภูมิพระร่วง และเป็นความจริงที่แน่นอนเช่นเดียวกันว่า หลักกรรมและหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น เป็นหลักธรรมสำคัญระดับแกน ที่สอดประสานหลักคำสอนอื่นๆ แทบทุกอย่างในพุทธศาสนา ซึ่งจะพบได้เกือบทั่วทุกแห่งในคัมภีร์ที่แสดงหลักธรรม หลักกรรมท่านสอนเพื่อมุ่งให้คนดำเนินชีวิตอยู่อย่างที่สุดในไตรภูมิ ส่วนหลักไตรลักษณ์ท่านสอนเพื่อช่วยให้คนหลุดพ้นไปได้จากไตรภูมิ หรือพูดให้ถูกแท้ว่เพื่อช่วยให้พ้นจากกรรม แล้วจะได้พ้นจากไตรภูมิ กรรมเป็นเรื่องระดับโลกียะ ส่วนความรู้ในไตรลักษณ์เป็นเครื่องนำสู่โลกุตระ กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ความประพฤติ หรือการดำเนินชีิวิต ไตรลักษณ์เป็นเรื่องของปัญญาความรู้ ความเข้าใจที่จะช่วยให้คนดำเนินพฤติกรรมที่ดีงามจนถึงขั้นที่กรรมไม่เป็นกรรมอีกต่อไป...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมเทศนา for คณะทำงานโครงการรวบรวมวรรณกรรมอาเซียนของไทย at ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ on/in 1 March 2526
Change to พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิฯ
Development
"ไตรภูมิพระร่วง : อิทธิพลต่อสังคมไทย" เดิมมีชื่อเต็มว่า "อิทธิพลไตรภูมิพระร่วงต่อศีลธรรมของสังคมไทย" เป็นคำบรรยายในการสัมมนาเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง" ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๖ ตามคำอาราธนาของ คณะทำงานโครงการรวบรวมวรรณกรรมอาเซียนของไทย  ต่อมาในการพิมพ์ครั้งที่ ๘ (ตุลาคม ๒๕๕๓ (ครั้งแรกในชื่อใหม่)) ได้มีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิฯ" (รหัส 562) และมีการจัดปรับเพิ่มเนื้อหาเล็กน้อย เช่น หน้าสุดท้าย และมีการจัดย่อหน้า ตัวหนา เพิ่มเติม (นับสถิติต่อจากเล่มเดิม)
First publishingOctober 2526
Latest publishing onPublishing no. 7 September 2543
ISBN974-7232-01-4
Dewey no.BQ1029.T5

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 2 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.