ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี

    ... ถ้ามองในแง่การบรรลุธรรม ก็คล้ายกับว่าหมดความเป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย ไม่ต้องพูดถึงเพราะทั้งหญิงและชายมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเป็นมนุษย์ ... ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้างหมุนเวียนกันไป ... ทุกคนเป็นมนุษย์ ... จึงมีศักยภาพในการที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ...

    ... ตอนแรกที่พระมหาปชาบดีขออนุญาต พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตซึ่งเป็นการพิจารณาในแง่ของสังคม แต่เมื่อยกเหตุผลในแง่การบรรลุธรรม อันนี้ก็ทรงอนุญาตให้บวช ภิกษุณีก็ต้องตระหนักไว้ว่า การอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นนี้เพื่อเหตุผลในการบรรลุธรรม แล้วก็ให้มุ่งที่นี ...

   ... การอนุญาตให้บวชภิกษุณี เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า คือต้องเป็นไปตามพุทธบัญญัติ มหาเถรสมาคมไม่มีอำนาจอะไรเลย มหาเถรสมาคมเป็นเรื่องบัญญัติใหม่ตามกฎหมายของบ้านเมือง แม้แต่สงฆ์ที่เป็นการปกครองแบบพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะให้ภิกษุณีบวช และการบอกว่าเป็นเรื่องไม่มีอุปชฌาย์ ก็ยังไม่ถูก คือการบวชเป็นภิกษุณีสำเร็จด้วยสงฆ์ เช่นเดียวกับสงฆ์เหมือนกัน เมื่อไม่มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว จะบวชภิกษุณีได้อย่างไร ไม่ใช่อยู่ที่ตัวอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์บวชไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีภิกษุณีย์สงฆ์ ถึงมีอุปัชฌาย์มีภิกษุณีรูปเดียวเป็นอุปัชฌาย์ ก็บวชใครให้เป็นภิกษุณีไม่ได้...

LanguageThai
Sourcefrom การสนทนาธรรม for คุณภาวนีย์ บุญวรรณ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ at วัดญาณเวศกวัน on/in 17 September 2541
Change to ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย
First publishingMay 2544
Latest publishing onPublishing no. 9 June 2544
ISBN974-344-112-3, 974-409-069-3, 974-409-073-1
Dewey no.BQ4570.W6

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 4 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.