การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต

... ในเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปแล้ว กลับค้นพบว่าศาสตร์ของตนไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้ ... ยิ่งเมื่อความหวังที่จะพิชิตธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังผลักดันอยู่เบื้องหลังความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เองต้องสะดุดชะงักลง ความฝันของมนุษย์ที่ว่าวิทยาศาสตร์จะนำความสุขสมบูรณ์มาให้ก็สลายลงด้วย ...

    ... ยุคสมัยปัจจุบันนี้ เป็นช่วงเวลาที่วงการวิชาการสับสน และสูญเสียความภูมิใจและความมั่นใจลงไปอย่างมาก บางคนเรียกว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางปัญญา เป็นจุดเปลี่ยนแปลง จุดหักเลี้ยว หรือหัวเลี้ยวหัวต่อที่วงวิชาการจะต้องปรับตัวปรับความคิดใหม่

         ในการจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปนี้ คงต้องมองว่า เราจะเอาคนเป็นหลัก ไม่ใช่เอาวิชาเป็นหลัก เอาคุณภาพของคนเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เอาการรู้เนื้อหาวิชาเป็นเป้าหมาย หมายความว่าจุดหมายอยู่ที่ว่า คนอย่างไรที่เราต้องการจะสร้างขึ้น จะให้เขามีคุณภาพอย่างไร ...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "วิชาศึกษาทั่วไปของหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี" at ทบวงมหาวิทยาลัย on/in 14 September 2538
Development

(หนังสือเรื่องการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต) เป็นงานของคณะผู้จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ขอนําหนังสือ ๒ เล่ม (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ, การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) มาจัดพิมพ์รวมกัน แต่คงเป็นเพราะว่าถ้านําเนื้อหามารวมครบเต็มทั้งสองเล่ม หนังสือจะหนามากจึงนําเนื้อหาของเล่มที่ ๑ (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ) มาประมาณครึ่งเล่ม กล่าวคือหนังสือ ศิลปศาสตร์แนวพุทธนั้น มี ๓ บทใหญ่ ท่านผู้ทํางานนํามาเฉพาะบทที่ ๒ (เว้นบทที่ ๑ และบทที่ ๓ คือตัดออกไป ๔๒ หน้า) และนําไปไว้ต่อท้ายเล่มที่ ๒ (การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) แล้วตั้งชื่อหนังสือฉบับรวมเล่มนั้นใหม่ว่าการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต 

พิมพ์ครั้งแรก มิ.ย.๒๕๕๐ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล

(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕ – ก.ย. ๕๙ มีความสับสน เนื้อเป็นเล่มที่ ๓ แต่ปกเป็นเล่มที่ ๒)

จึงเป็นอันว่า ท่านผู้จัดพิมพ์ใหม่อาจเลือกพิมพ์เล่มใดเล่มหนึ่ง หรือถ้าจะพิมพ์ให้ครบบริบูรณ์ก็พิมพ์เล่มที่ ๑ และเล่มที่ ๒ (ถ้าจะพิมพ์ทั้งสองเล่ม แต่ไม่ต้องบริบูรณ์ มีเฉพาะส่วนที่เลือกก็สามารถพิมพ์เล่มที่ ๓ เล่มเดียว)


(ที่มาของบันทึกนี้ : บันทีกเรื่อง "คําชี้แจงเกี่ยวกับหนังสือ ๓ เล่ม ซึ่งมีเนื้อความซ้ําซ้อนหรือเกยกัน" ที่แนบท้ายจดหมายที่พระพรหมคุณาภรณ์ตอบอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อ ๔ ธ.ค. ๕๙)

First publishingSeptember 2540
Latest publishing onPublishing no. 7 April 2557
ISBN974-7891-85-9, 974-7891-85-9
Dewey no.BQ4570.E3
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.