การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต

... ในเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปแล้ว กลับค้นพบว่าศาสตร์ของตนไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้ ... ยิ่งเมื่อความหวังที่จะพิชิตธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังผลักดันอยู่เบื้องหลังความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เองต้องสะดุดชะงักลง ความฝันของมนุษย์ที่ว่าวิทยาศาสตร์จะนำความสุขสมบูรณ์มาให้ก็สลายลงด้วย ...

    ... ยุคสมัยปัจจุบันนี้ เป็นช่วงเวลาที่วงการวิชาการสับสน และสูญเสียความภูมิใจและความมั่นใจลงไปอย่างมาก บางคนเรียกว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางปัญญา เป็นจุดเปลี่ยนแปลง จุดหักเลี้ยว หรือหัวเลี้ยวหัวต่อที่วงวิชาการจะต้องปรับตัวปรับความคิดใหม่

         ในการจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปนี้ คงต้องมองว่า เราจะเอาคนเป็นหลัก ไม่ใช่เอาวิชาเป็นหลัก เอาคุณภาพของคนเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เอาการรู้เนื้อหาวิชาเป็นเป้าหมาย หมายความว่าจุดหมายอยู่ที่ว่า คนอย่างไรที่เราต้องการจะสร้างขึ้น จะให้เขามีคุณภาพอย่างไร ...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "วิชาศึกษาทั่วไปของหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี" ณ ทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๘
ข้อมูลพัฒนาการ

(หนังสือเรื่องการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต) เป็นงานของคณะผู้จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ขอนําหนังสือ ๒ เล่ม (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ, การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) มาจัดพิมพ์รวมกัน แต่คงเป็นเพราะว่าถ้านําเนื้อหามารวมครบเต็มทั้งสองเล่ม หนังสือจะหนามากจึงนําเนื้อหาของเล่มที่ ๑ (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ) มาประมาณครึ่งเล่ม กล่าวคือหนังสือ ศิลปศาสตร์แนวพุทธนั้น มี ๓ บทใหญ่ ท่านผู้ทํางานนํามาเฉพาะบทที่ ๒ (เว้นบทที่ ๑ และบทที่ ๓ คือตัดออกไป ๔๒ หน้า) และนําไปไว้ต่อท้ายเล่มที่ ๒ (การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) แล้วตั้งชื่อหนังสือฉบับรวมเล่มนั้นใหม่ว่าการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต 

พิมพ์ครั้งแรก มิ.ย.๒๕๕๐ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล

(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕ – ก.ย. ๕๙ มีความสับสน เนื้อเป็นเล่มที่ ๓ แต่ปกเป็นเล่มที่ ๒)

จึงเป็นอันว่า ท่านผู้จัดพิมพ์ใหม่อาจเลือกพิมพ์เล่มใดเล่มหนึ่ง หรือถ้าจะพิมพ์ให้ครบบริบูรณ์ก็พิมพ์เล่มที่ ๑ และเล่มที่ ๒ (ถ้าจะพิมพ์ทั้งสองเล่ม แต่ไม่ต้องบริบูรณ์ มีเฉพาะส่วนที่เลือกก็สามารถพิมพ์เล่มที่ ๓ เล่มเดียว)


(ที่มาของบันทึกนี้ : บันทีกเรื่อง "คําชี้แจงเกี่ยวกับหนังสือ ๓ เล่ม ซึ่งมีเนื้อความซ้ําซ้อนหรือเกยกัน" ที่แนบท้ายจดหมายที่พระพรหมคุณาภรณ์ตอบอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อ ๔ ธ.ค. ๕๙)

พิมพ์ครั้งแรกกันยายน ๒๕๔๐
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗
ISBN974-7891-85-9, 974-7891-85-9
เลขหมู่BQ4570.E3
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง