ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา ปุจฉา-วิสัชนา

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

คาถาเสริมบุญในการปิดทอง

เพื่อให้การปิดทองลูกนิมิตเป็นบุญเป็นกุศลมากขึ้น โดยเจริญด้วยคุณค่าสาระทางธรรมทางปัญญา จึงขอมอบคาถาพุทธภาษิตให้ท่านที่จะปิดทองจดจำเป็นคติ และนำไปว่าขณะปิดทอง โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้

ขั้นตอนการปิดทองลูกนิมิต

๑. นำแผ่นทองท่านละ ๙ แผ่นพร้อมทั้งคาถาพุทธภาษิต ๑ แผ่น จากตู้ที่จัดไว้

๒. ท่องคาถาพุทธภาษิตให้คล่อง

๓. ขณะปิดทองลูกนิมิตแต่ละลูก ทำจิตใจให้เบิกบานสดใส พร้อมกับว่าคาถาพุทธภาษิตไปด้วย

หมายเหตุ:

- เมื่อปิดทองเสร็จแล้ว โปรดทิ้งกระดาษประกบแผ่นทองลงในถัง เพื่อช่วยรักษาความสะอาดบริเวณวัด

- ถ้าแผ่นทองหมด หรือหาแผ่นทองไม่พบ

  โปรดติดต่อ แจ้งเจ้าหน้าที่วัด หรือพระภิกษุให้ทราบ

ต่อไปนี้จะนำคาถาพุทธภาษิตมาลงพิมพ์เรียงลำดับไว้ เพื่อให้ผู้ที่ใฝ่ธรรมจะได้อ่านไตร่ตรองเจริญธรรม หรือจดจำไว้เป็นคติสืบไป

คาถาพุทธภาษิต

(เรียงตามอักษรบาลี)

 

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ (๑๔/๕๒๗)

รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้

อตฺตนา โจทยตฺตานํ (๒๕/๓๕)

จงเตือนตนด้วยตนเอง

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ (๒๕/๒๒)

มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ (๑๕/๖๖๕)

ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องรุ่งเรืองของคน

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (๒๕/๑๖)

บัณฑิตย่อมฝึกตน

อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ (๒๕/๓๑๘)

การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอันสูงสุด

อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโต วิปจฺจติ (๒๗/๒๔๔๔)

ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ (๒๕/๑๒)

ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย

อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ (๑๐/๑๔๓)

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ (๒๕/๑๒)

ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย 

อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา (๒๖/๓๕๙)

เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง

อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ (๑๔/๕๒๒)

ขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา นั้นแลเรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค 

อาปูรติ ธีโร ปุญฺสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ (๒๕/๑๙)

ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี

อาโรคฺยปรมา ลาภา (๑๓/๒๘๗)

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

อาสึเสเถว ปุริโส (๒๘/๔๕๐)

เป็นคนควรหวังเรื่อยไป

กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุ (๒๕/๑๔)

เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง พึงสร้างความดีไว้ให้มาก

กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา (๒๔/๔๘)

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก (๑๓/๗๐๗)

สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ (๑๓/๗๐๗)

เป็นคนประเสริฐ เพราะการกระทำ

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ (๑๕/๑๙๙)

ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข

ขโณ โว มา อุปจฺจคา (๒๕/๓๒๗)

อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ (๒๕/๑๓)

การฝึกจิต ให้เกิดผลดี

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ (๒๕/๑๓)

จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี (๒๕/๑๓)

ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ (๑๕/๒๘๑)

ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี

ททมาโน ปิโย โหติ (๒๒/๓๕)

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ (๒๕/๓๓)

ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วประเสริฐสุด

ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม (๑๕/๒๓๙)

พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง

ทินฺนํ สุขผลํ โหติ (๑๕/๑๓๖)

ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าอำนวยสุขเป็นผลแล้ว

เทวา น อิสฺสนฺติ ปุริสปรกฺกมสฺส (๒๗/๕๐๕)

ความเพียรของคนไม่ลดละ ถึงเทวดาก็กีดกันไม่ได้

ธมฺมจารี สุขํ เสติ (๒๕/๒๓)

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ธมฺมปีติ สุขํ เสติ (๒๕/๑๖)

ผู้อิ่มใจในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข

ธมฺเม ิโต ปรโลกํ น ภาเย (๑๕/๒๐๔)

ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ (๒๖/๓๓๒)

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ (๒๖/๓๓๒)

ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม

ธีโร จ สุขสํวาโส (๒๕/๒๕)

ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข

นตฺถิ ปฺาสมา อาภา (๑๕/๒๙)

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา (๒๓/๑๑๗)

ขุมกำลังของบัณฑิต คือการรู้จักพินิจ

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา (๑๕/๘๙๔)

ประโยชน์งามตรงที่สำเร็จ

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา (๒๗/๑๔๙๒)

คนใจการุณย์ ช่วยแก้ไขให้คนหายโศกเศร้า

โนปลิปฺปติ โลเกน โตเยน ปทุมํ ยถา (๒๖/๓๘๔)

ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำ

ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ (๑๕/๒๒)

อยู่กับปัจจุบัน ผิวพรรณจะผ่องใส

ปฺํ นปฺปมชฺเชยฺย (๑๔/๖๘๓)

ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา

ปฺฺา เจนํ ปสาสติ (๑๕/๑๗๕)

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว

ปฺา นรานํ รตนํ (๑๕/๑๕๙)

ปัญญาเป็นดวงแก้วของคน

ปฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต (๑๕/๒๑๗)

ปัญญาเป็นดวงชวาลาในโลก

ปฺา ว ธเนน เสยฺโย (๑๓/๔๕๑)

ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

ปฺา สุตวินิจฺฉินี (๒๗/๒๔๔๔)

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน

ปฺาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฺ (๑๕/๘๔๑)

ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด

ปฺาย ติตฺตีนํ เสฏฺ (๒๗/๑๖๔๓)

อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย

ปฺาย อตฺถํ ชานาติ (๒๖/๒๖๘)

ด้วยปัญญา จึงจะรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์

ปฺายตฺถํ วิปสฺสติ (๒๓/๓)

ด้วยปัญญา จึงจะเห็นอรรถชัดแจ้ง

ปฺาสหิโต นโร อิธ ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ (๒๗/๒๔๔๔)

คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺาตา วินฺทเต ธนํ (๑๕/๘๔๕)

ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้

ปณฺฑิตา โสกนุทา ภวนฺติ (๒๘/๓๓๓)

บัณฑิตช่วยปัดเป่าทุกข์โศกความเศร้าของปวงชน

ปุฺํ โจเรหิ ทูหรํ (๑๕/๑๕๙)

ความดี โจรลักไม่ได้

ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก (๒๘/๙๔๙)

พึงเป็นนักสอบถามหาความรู้

โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ (๑๑/๑๙๗)

ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก

มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณฺจ ปุจฺฉ (๑๕/๖๖๐)

อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺพฺพํ (๒๗/๑๓๖)

ได้สิ่งใด พึงพอใจด้วยสิ่งนั้น

โยคา เว ชายเต ภูริ (๒๕/๓๐)

ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ (๒๘/๔๓๙)

คืนวันไม่ผ่านไปเปล่า

ลพฺภา ปิยา โอจิตตฺเตน ปจฺฉา (๒๘/๓๗๕)

เตรียมตัวไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (๑๕/๘๙๑)

เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ

วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสตฺถํ (๑๕/๙๙)

ให้ด้วยพิจารณา พระศาสดาทรงสรรเสริญ

วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺา (๑๕/๒๐๖)

บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส (๑๑/๗๒)

ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรรยา ชื่อว่าประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (๒๕/๓๑๑)

คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

สจิตฺตมนุรกฺขถ (๒๕/๓๓)

จงตามรักษาจิตของตน

สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ (๒๕/๓๑๑)

สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารส

สติ ปโตโท ธีรสฺส (๒๘/๘๙๑)

สติเป็นปฏักของนักปราชญ์

สติ โลกสฺมิ ชาคโร (๑๕/๒๑๗)

สติเป็นความตื่นตัวในโลก

สติมโต สทา ภทฺทํ (๑๕/๘๑๒)

คนมีสติ เท่ากับมีของดีที่นำโชคตลอดเวลา

สติมโต สุเว เสยฺโย (๑๕/๘๑๒)

คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน

สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ (๑๕/๑๗๕)

ศรัทธาเป็นมิตรคู่ใจตน

สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺ (๑๕/๒๐๓)

ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ (๒๕/๓๔)

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ (๒๕/๖๓)

อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น

สพฺเพสํ สหิโต โหติ (๒๓/๑๒๘)

คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

สมคฺคานํ ตโป สุโข (๒๕/๒๕)

เมื่อคนพร้อมเพรียงกัน ความเพียรพยายามก็นำสุขมาให้

สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ อณุ อคฺคึว สนฺธมํ (๒๗/๔)

ตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากเชื้อนิดเดียว

สยํ กตานิ ปุฺานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ (๑๕/๑๕๙)

บุญที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า

สยํ กตานิ ปุฺานิ ตํ เว อาเวณิยํ ธนํ (๒๗/๑๙๙๘)

ความดีที่ทำไว้เองนั่นแล เป็นทรัพย์ส่วนตัวแท้ๆ

สํวิรุฬฺเหถ เมธาวี (๒๗/๒๑๔๑)

เล่าเรียนมีปัญญา จะเจริญงอกงาม

สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ (๒๗/๑๐๘)

อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด

สีลํ กวจมพฺภุตํ (๒๖/๓๗๘)

ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

สีลํ ยาว ชรา สาธุ (๑๕/๑๕๙)

ศีลยังประโยชน์ ให้สำเร็จตราบเท่าชรา

สีลํ อาภรณํ เสฏฺ(๒๖/๓๗๘)

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

สุกรํ สาธุนา สาธุ (๒๕/๑๒๔)

ความดี คนดีทำง่าย

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ (๒๒/๓๗)

คนฉลาด ให้ความสุข ก็ได้ความสุข

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ (๒๒/๓๗)

คนฉลาด ให้ความสุข ก็ได้ความสุข

สุขํ วต ตสฺส น โหติ กิฺจิ (๒๕/๕๕)

ไม่มีอะไรค้างใจกังวล มีแต่ความสุขหนอ

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (๒๕/๑๙๔)

สามัคคีของหมู่ ให้เกิดสุข

สุขา สทฺธา ปติฏฺิตา (๒๕/๓๓)

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

สุขิโน วตารหนฺโต (๑๗/๑๕๓)

ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างมีแต่ความสุข

สุโข ปฺาย ปฏิลาโภ (๒๕/๓๓)

การได้ปัญญา นำมาซึ่งความสุข

สุโข ปุฺสฺส อุจฺจโย (๒๕/๑๙)

การสร้างสมความดี นำสุขมาให้

สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท (๒๕/๒๔)

ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้

สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ สุปภาตํ สุหุฏฺิตํ (๒๐/๕๙๕)

ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ (๒๕/๖)

พูดดี เป็นมงคลอันอุดม

เสยฺโย อมิตฺโต เมธาวี ยฺเจ พาลานุกมฺปโก (๒๗/๔๕)

มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นพาล

ยาทิสฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ (๒๗/๒๑๕๒)

คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น

หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺชโภเค (๑๕/๑๓๘)

คนดีจัดการโภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

 

 

 

 

The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.