Dhamma Talks

Track no.: ๒๑ วิกฤตบ้านเมืองวันนี้ โอกาสที่มีควรเป็นของใคร?

เรื่องพ่วงที่ ๘ จะสมานฉันท์ ต้องสมานปัญญา

Length ๐:๒๒:๐๖

LanguageThai
In CDวิกฤตบ้านเมืองวันนี้ โอกาสที่มีควรเป็นของใคร?
Abstract

[09:29] รู้กัน แล้ว รู้ทัน
[11:23] รู้เข้าใจ ศรัทธา สามัคคี
[13:08] รู้ภาษา...จริงหรือ
[22:17] แข็งร้าย แข็งดี แข็งกระด้าง แข็งมั่นคง
[26:39] สมานศรัทธา สมานสามัคคี สมานปัญญา

----------------------------------

[10:36] พอศรัทธาร่วมกันแล้วสามัคคีก็เกิดได้ หรือว่ามีศรัทธา มีความซาบซึ้งในคุณความดีอะไรต่างๆอย่างเดียวกันนี่จิตในมันก็รวมกันเอง เพราะฉะนั้นศรัทธานี่มารวมกันเข้าสามัคคีก็เกิดแน่นอน เพราะฉะนั้นใช้คำว่ารวมศรัทธาก็เท่ากับว่าลงลึกไปถึงเหตุปัจจัยของความสามัคคีนั้นอีกทีหนึ่ง ทีนี้ศรัทธาจะรวมกันได้เป็นเรื่องของจิตใจที่ว่าแล้วก็มีความเชื่อร่วมกัน แต่ว่าถ้าจะให้ดียิ่งกว่าความเชื่อก็คือว่า ศรัทธาหรือความเชื่อนั้นเกิดจากปัญญาด้วย เกิดจากความรู้ความเข้าใจ พอเรามีความรู้ความเข้าใจอะไรต่างๆเนี่ย รู้เข้าใจหลักพระศาสนาร่วมกัน รู้ว่าอะไร เรามีอะไรต่ออะไรร่วมกันต่างๆเหล่านี้ ยิ่งจะทำให้ศรัทธานั้นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แล้วความสามัคคีก็ยิ่งได้ผลมากขึ้น มั่นคงยิ่งขึ้นด้วย

[19:28] เราก็มีบรรพบุรุษที่เหมือนๆกันเสมอกัน เป็นชาวพุทธมาเหมือนกัน ใช้ภาษาสันสกฤตร่วมกัน เยอะแยะไป แล้วเราก็เป็นชาวเซาท์อิสต์เอเชียเหมือนกัน มีจุดร่วมกัน แล้วเราก็เป็นชาวอาเซียเหมือนกัน ขยายออกไป เราก็เป็นชาวโลกเดียวกัน เราก็ร่วมโลกเดียวกัน เออไปๆมาๆเราก็มีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน แล้วเรา ไปๆมาๆเราก็อยู่ใต้กฎธรรมชาติเดียวกันก็ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน จุดร่วมต่างๆมันเยอะไปหมด นี่แหล่ะปัญญามันทำให้รู้ เมื่อรู้กว้างออกไปมันก็มีแต่รวมกัน มันมีจุดรวมหลายระดับ แล้วจะไปทะเลาะกันทำไม

from Talk to Laypeople for โยมญาติมิตร สาธุชนที่มาร่วมงานทำบุญ นำโดย ประภาศรี บุณยประสิทธิ์ ประธานคณะเจ้าภาพฯ at วัดญาณเวศกวัน
Preceding Clipเรื่องพ่วงที่ ๗ โลกเดี๋ยวนี้ขัดแย้งกันมากมาย จะแก้ไขไหวหรือ
Next Clipเรื่องพ่วงที่ ๙ ตอบคำถามเรื่อง การสมานฉันท์
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.