มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์

 

...เมื่อโลกเจริญมาถึงยุคที่เรียกว่า เป็นโลกาภิวัตน์แล้ว ถ้ามนุษย์เป็นผู้ถือตัวว่ามีอารยธรรม ยังไม่ยอมพัฒนาระบบวิธีคิดและแก้ไขระบบคุณค่าที่ยึดถือเกี่ยวกับปัญหาการแบ่งแยกกลุ่มพวก เนื่องจากลัทธินิยมทางศาสนาและพงศ์เผ่าเหล่ากอ เพื่อปรับระบบพฤติกรรมเสียใหม่ มนุษยชาติก็ปราศจากความหวังที่จะมีสังคมแห่งสันติสุข...

...แต่ตรงกันข้าม ปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนสงคราม มีศักยภาพที่จะรุนแรงยิ่งกว่าความขัดแย้งด้านลัทธินิยม หรืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองเสียอีก เพราะเขาไม่อาจแม้แต่จะยกเอาตัวปัญหาขึ้นมาพูดจาทำความเข้าใจกัน...

 

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมเทศนา แก่ คณะนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาศาสนาเปรียบเทียบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๐
ข้อมูลพัฒนาการ
  • เดิมชื่อว่า "ทัศนะของพุทธศาสนาต่อศาสนาอื่น" (ตามคำอาราธนา)
  • พิมพ์ครั้งแรก (กรกฎาคม ๒๕๔๒) มีการปรับปรุง-เพิ่มเติม จากคำบรรยายเดิมขยายออกไปอีกเท่าตัว จัดพิมพ์โดย คณะนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาศาสนาเปรียบเทียบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา ๒๕๔๐
  • พิมพ์ครั้งที่ ๒ (สิงหาคม ๒๕๕๒) มีการปรับปรุง-เพิ่มเติม จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธธรรม
  • พิมพ์ครั้งที่ ๓ (มีนาคม ๒๕๔๘) คือ  ครั้งแรกที่พิมพ์ในระบบ PC, มีการปรับปรุง-เพิ่มเติม จัดพิมพ์โดย คณะ ๑๒ มิตร พิมพ์ภวายเป็นมุทิตาสักการะ แด่ พระพรหมคุณาภรณ์ เนื่องในพิธีรับหิรัญบัฏ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
  • "มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์"  เนื้อหาภาค ๒ "ภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์" ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งผู้เรียบเรียงชี้แจงไว้ตอนท้ายของเนื้อหาภาคนี้
พิมพ์ครั้งแรกกรกฎาคม ๒๕๔๒
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๗
ISBN974-662-825-9, 974-7891-90-5
เลขหมู่BQ4570.P4
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง