จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคน ตามแนวธรรมชาติ

...พระพุทธศาสนาสอนความไม่ประมาทที่แท้ ด้วยสติปัญญา ซึ่งเกิดจากการพัฒนาคน นอกจากใช้สติสำรวจ และใช้ปัญญาวิเคราะห์วิจัย เพื่อทำการให้ตรงกับเหตุปัจจัยแล้ว พระพุทธศาสนาก็ใช้ภาวะบีบเร่งด้วย แต่ไม่ใช่ภาวะบีบเร่งทางจิต ท่านให้ใช้ภาวะบีบเร่งทางปัญญา คือการมองเห็น และรู้เข้าใจความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง ภาวะเกิดดับ และความไม่คงอยู่ยั่งยืนของชีวิตและสิ่งทั้งหลาย โยงมาสู่การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ภาวะบีบเร่งทางปัญญานี้ ไม่ทำให้เกิดความเครียดกังวล ความขุ่นมัวเศร้ามหองใจหรือความเป็นทุกข์ แต่เป็นความปลอดโปร่งใจสว่างด้วยปัญญา คำสอนเช่นนี้มีมากเช่น "คนเรามีอายุอยู่ได้ไม่นาน จะต้องไปภพหน้า ควรทำความดี ควรดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ คนที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายเป็นไม่มี คนที่มีชีิวิตยืนยาวก็อยู่ได้แค่ ๑๐๐ ปี จะเกินไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย ... พึงดำเนินชีวิตดังมีไฟไหม้อยู่บนศีรษะ"...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ องคมนตรี หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ - ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา รองศาสตราจารย์ ดร. ชุมพร ยงกิตติกุล นายกสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน กรุงเทพมหานคร เมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙
ข้อมูลพัฒนาการ
  • จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคน ตามแนวธรรมชาติ นี้ เป็นปาฐกถานำ ในการประชุมวิชาการของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมรอยัลออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ มีชื่อเรื่องตามที่กำหนดไว้เดิมว่า "จิตวิทยาและศาสนาเพื่อการพัฒนาคนในยุคสารสนเทศ" ต่อมานายกสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย คือ ดร.ชุมพร ยงกิตติกุล ได้แจ้งความประสงค์ที่จะนำบทปาฐกถาดังกล่าวไปพิมพ์เผยแพร่ และได้ส่งบทคัดลอกจากแถบบันทึกเสียงไปให้ตรวจแก้ ด้วยความมุ่งหวังที่จะตีพิมพ์ให้เสร็จทันวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๐ ผู้เรียบเรียงได้ตรวจชำระต้นฉบับ โดยได้ปรับปรุงถ้อยคำสำนวน จัดย่อหน้าวรรคตอน และตั้งหัวข้อ ตลอดจนได้เพิ่มเติมเนื้อความแทรกเข้ามาอีกตามสมควร เพื่อให้ได้สาระและมีความชัดเจนมากขึ้น

     

พิมพ์ครั้งแรกธันวาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๙
ISBN974-8239-36-5
เลขหมู่BQ4570.P76
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง