พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน

"...จิตวิทยาเคยถึงกับมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่าง จิตกับกาย ไปแล้ว มาระยะหนึ่งก็ได้เกิดการค้นพบว่า จิตกับกายนี่มีความสัมพันธ์มีผลต่อกันมาก เราก็หันมาสนใจเรื่องจิตกับกายกันมาก อะไรที่เกิดขึ้นทางจิตก็มีผลกับกาย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือ ความเป็นไปทางร่างกาย การที่เอาใจใส่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง กายกับจิต จึงมีมากขึ้น แต่ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่ามีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัญญา เรื่องความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ หรือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบนี้ เรื่องของชีวิตมนุษย์ในด้านจิตใจนี้ เราไม่สามารถแยกออกจากชีวิต โดยองค์ประกอบของมนุษย์ คือ ตัวมนุษย์ทั้งหมด แต่จะต้องมองให้ครบตลอดสาย ทั้งเรื่องของพฤติกรรม เรื่องจิตใจ และเรื่องของปัญญา ถ้าจิตวิทยาไปเน้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ิอาจจะเกิดภาวะที่ทำให้เกิดภาวะแหว่งวิ่น หรือไม่ตลอดสาย..."

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณบดีทั้งอดีตและปัจจุบัน คณาจารย์ นิสิต และผู้เข้าร่วมประชุม ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๘
พิมพ์ครั้งแรกกันยายน ๒๕๔๓
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๓
ISBN974-553-843-4, 974-7892-08-1
เลขหมู่BQ4570.P76
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง