ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๑ ชุด การศึกษาพุทธปัญญา ชุดที่ ๗ หลักพุทธศาสนา จากวันสำคัญ และประเพณี

ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์

ความยาว ๒:๐๓:๐๗ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดการศึกษาพุทธปัญญา ชุดที่ ๗ หลักพุทธศาสนา จากวันสำคัญ และประเพณี
ข้อมูลเบื้องต้น[0:01:00] สิ่งสำคัญใดที่ควรจะได้รับ เมื่อไปเยือนสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง
[0:11:24] อาศัยรูปกายทำธรรมกายให้ปรากฏ เพิ่มพูนมั่นคงจนถึงมรรคผลนิพพาน
[0:18:48] เดินทางแม้ได้รับทุกขเวทนา ก็ถือว่าบำเพ็ญบารมีถวายเป็นพุทธบูชา
[0:23:34] การคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยสำคัญในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
[0:34:56] ความคิดเชิงปัญญา (โยนิโสมนสิการ) แตกต่างอย่างไรกับ ความคิดปรุงแต่ง
[0:39:27] เจ้าชายสิทธัตถะประสูติมาเพื่อประกาศอิสรภาพให้กับมวลมนุษย์
[0:45:10] จากเทพมาสู่ธรรม...จากบวรสรวงอ้อนวอนพระพรหมและเทพเจ้าสู่หลักกรรมและความเพียร
[0:53:04] สิ่งกล่อมมีทั้งดีและร้าย ต้องรู้จักเลือกใช้สิ่งที่ดี และไม่หลงติดเพลิน
[1:00:33] คิดปรุงแต่งอย่างไรให้เป็นบุญเป็นกุศล ปรุงแต่งเป็นความสุข ทำให้ใจสบาย
[1:10:31] ชาวพุทธต้องไม่อ้อนวอนร้องขอ แต่ใช้การอธิษฐานนำไปสู่การพัฒนาตนให้ได้ประโยชน์ยิ่ง
[1:23:43] อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลก็ได้ หรือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลก็ได้ ต้องไม่ประมาท
[1:28:38] เข้าใจให้ถูกต้อง “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ทางแห่งความพอดี หรือ ดุลยภาพ
[1:40:37] ใช้ธรรมะต้องใช้ให้ครบทั้งชุดจึงจะถูกต้อง ได้ผล และไม่เสียธรรม
[1:50:32] สันโดษแล้วเป็นสุข แต่ต้องไม่สันโดษในกุศลธรรม สิ่งสำคัญสันโดษแล้วต้องมีความเพียร

----------------------------------

[0:50:29 - 0:51:03] ที่พระพุทธเจ้าประสูติตอนแรกเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอาสภิวาจา ก็คือ ประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ว่ามนุษย์นี่อย่าไปมัวขึ้นต่อพระพรหม ไปหวังอำนาจดลบันดาลมัวแต่บูชายัญอยู่ ให้มามองที่ตัวธรรมะ ตัวความจริง สัจธรรมกฎธรรมชาตินี้ ให้พัฒนาปัญญาของตนขึ้นมา พอพัฒนาปัญญาของตนขึ้นมา มนุษย์เข้าถึงตัวธรรมะ รู้ตัวความจริง มนุษย์ก็กลายเป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นพุทธะได้ ก็กลายเป็นผู้ที่แม้แต่เทวดาและพระพรหมจะเคารพบูชา
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง