ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา

 

...ในชีวิตของคนทั่วไป กระบวนธรรมแห่งปัญญานี้ เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินไปเกือบตลอดเวลา ในวันหนึ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นแล้ว ๆ เล่า ๆ นับครั้งไม่ถ้วน ชีวิตที่ไม่มีการศึกษา ย่อมถูกครอบงำและกำหนดด้วยกระบวนการแห่งความคิดอย่างนี้ ความเป็นไปของกระบวนธรรมนี้ดำเนินไปได้เองง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา.. ยิ่งได้สั่งสมความเคยชินไว้มาก ๆ ก็ยิ่งเป็นไปเองอย่างคล่องแคล่ว .. สรุปสั้น ๆ จะเรียกว่า กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา หรือการคิดแบบก่อปัญหา หรือวงจรแห่งความทุกข์ได้

   เมื่อมนุษย์เริ่มมีการศึกษาขึ้น ก็คือ มนุษย์เริ่มใช้สติปัญญาไม่ปล่อยให้กระบวนการคิดข้างต้นนั้นดำเนินไปเรื่อย ๆ คล่อง ๆ แต่มนุษย์เริ่มใช้สติสัมปชัญญะ และองค์ประกอบอื้น ๆ เข้ามาตัดตอน ... ทำให้กระบวนการคิดแบบสนองตัณหาขาดตอนไปเสียบ้าง ดำเนินไปในทิศทางหรือรูปอื่น ๆ บ้าง ทำให้มนุษย์เริ่มหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส ไม่ถุกระบวนความคิดแบบนั้นครอบงำ กำหนดเอาเต็มที่โดยสิ้นเชิง...

 

ภาษาไทย
ที่มาจาก การประพันธ์ แก่ คณะอนุกรรมการดำเนินการศึกษาและกำหนดหลักวิชาการศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ในโครงการศึกษาเพื่อเสนอหลักวิชาการตามแนวพุทธศาสตร์ เมื่อ ๒๕๒๕
ปรับปรุงเพิ่มเติมจาก พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
เนื้อหาส่วนใหญ่สรุปจาก บทที่ ๑๘ ว่าด้วย โยนิโสมนสิการ
ข้อมูลพัฒนาการ
  • "ความคิด : แหล่งสำคัญของการศึกษา" เนื้อหาส่วนใหญ่สรุปจาก "พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ บทที่ ๑๘ ว่าด้วย โยนิโสมนสิการ
พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๕
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๓
ISBN974-7892-05-7
เลขหมู่BQ4570.E3

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 1 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง