บทเรียน ๒๕ ปี คนไทยเรียนรู้หรือยัง?

... ช่วงเวลานี้เป็นระยะที่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงนี้มิได้หมายถึงความเปลี่ยนสภาพที่เป็นปัญหา ไปเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการแต่ประการใด เป็นเพียงการขยับเขยื้อนตัวหันเหไปสู่ทิศทางใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความตื่นเต้นบ้าง ตื่นตัวบ้าง การแล่นเตลิดบ้าง การคลำหาทิศทางบ้าง เป็นช่วงต่อสำคัญที่จะเดินไปสู่วัฒนะหรือหายนะก็ได้ สิ่งที่ต้องการและจำเป็นยิ่งคือการหาความรู้ความเข้าใจ และการกระทำด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความเข้าใจในเนื้อตัวของตนเองที่จะแก้ไข เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้เกิดการปรับตัวอย่างถูกต้อง ...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา ณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๗
เรียบเรียงบางส่วนจาก สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย
ข้อมูลพัฒนาการ
  • "บทเรียน 25 ปี คนไทยเรียนรู้หรือยัง?" เป็นผลงานปาฐกถา พร้อมบันทึกประกอบ
  • การพิมพ์ครั้งแรก (กรกฎาคม ๒๕๑๗) ใน "ปาจารสาร" ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๑ กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๑๗ (เฉพาะส่วนปาฐกถา)
  • การพิมพ์ครั้งแรก (๒๕๑๗) ในเอกสารเผยแพร่อันดับที่ ๒ ชุด พระพุทธศาสนาสำหรับประชาชน เรื่อง "สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน" จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (เฉพาะบันทึกประกอบ)
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๒ (๒๕๑๘) พิมพ์รวมกับเรื่องอื่นในหนังสือ "ปรัชญาการศึกษาไทย" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (เฉพาะส่วนปาฐกถา)
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๓ (๒๕๒๗) พิมพ์รวมกับเรื่องอื่นในหนังสือ "สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง (ทั้งส่วนปาฐกถาและบันทึกประกอบ)
  • การพิมพ์ครั้งแรก (เมษายน ๒๕๔๑) มีการปรับปรุง-เพิ่มเติม แล้วพิมพ์เป็นเล่มเดี่ยว เปลี่ยนชื่อปาฐกถา จากเดิมชื่อว่า "ปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน และแนวทางในการแก้ไข" เป็น "ปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน และแนวทางแก้ไข" พร้อมกับตั้งชื่อหนังสือใหม่ว่า "บทเรียน 25 ปี คนไทยเรียนรู้หรือยัง?" จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา (ทั้งส่วนปาฐกถาและบันทึกประกอบ)
พิมพ์ครั้งแรกเมษายน ๒๕๑๗
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๔ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑
ISBNยังไม่มีข้อมูล
เลขหมู่BQ4570.E3

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 3 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง